1.ชื่อองค์กร และสัญลักษณ์ (โลโก้)
ชื่อเต็มภาษาไทย "มูลนิธิศูนย์มิตรภาพมนุษย์ล้อเอซีย (ประเทศไทย)
ตัวย่อภาษาไทย "มศอท."
ตัวย่อภาษาอังกฤษ "WAFCAT"
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ "Wheelchairs And Friendship Center of Asia (Tnailand)
สัญลักษณ์ หรือโลโก้มูลนิธิฯ
โลโก้ของ WAFCAT แสดงให้เห็นถึงคนสองคนนั่งอยู่บนเก้าอี้ล้อเข็นแล้วหันหน้าเข้าหากัน อันสื่อให้เห็นถึงเป้าหมายและพันธกิจของ WAFCAT
2.ความเป็นมาของการก่อตั้ง
มูลนิธิศูนย์มิตรภาพมนุษย์ล้อเอเซีย (ประเทศไทยไทย) หรือ WAFCAT ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ 2542 เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี ของบริษัทเด็นโซ่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ประเทศญี่ปุ่น เพื่อตอบแทนและคืนกำไรต่อสังคม โดย WAFCAT เป็นองค์กรสาธารณกุศลลำดับที่ 550 ตามประกาศกระทรวงการคลังฯ ดำเนินงานด้านการส่งเสริมเด็กพิการให้สามารถดำรงชีวิตอิสระ ผ่านกิจกรรมให้บริการเก้าอี้ล้อเข็น ส่งเสริมการศึกษา จัดปรับสภาพแวดล้อมให้ปราศจากอุปสรรค ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครและสร้างความตระหนักด้านผู้พิการต่อสังคม
3.การจดทะเบียนองกรค์
WAFCAT ได้รับการจดทะเบียนจัดตั้งเป็นมูลนิธิฯ ถูกต้องตามกฏหมายจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เลขอนุญาติที่ ต.306/2542 เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2542 และได้รับประกาศจากกระทรวงการคลัง ให้เป็นองค์กรสาธารณะกุศลลำดับที่ 550 เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ 2547 รวมถึงได้รับการรับรองการเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ทะเบียนเลขที่ 1275 เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ 2550
ระเบียบข้อบังคับมูลนิธิฯ คลิ๊กที่นี่ => https://backend.wafcat.or.th/uploads/files/4/_1667552747.doc
4.วิสัยทัศน์
สร้างรูปแบบบริการเก้าอี้ล้อเข็น และระบบสนับสนุนการศึกษาสู่การมีงานทำ เพื่อการดำรงชีวิตอิสระสำหรับเด็กพิการ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางสังคมด้วยมิตรภาพอย่างยั่งยืน
5.พันธกิจ
1.บริการเก้าอี้ล้อเข็นแก่เด็กพิการตามแนวทางการให้บริการเก้าอี้ล้อเข็น แบบขับเคลื่อนด้วยแรงคนในพื้นที่ที่มีทรัพยากรจำกัด ขององค์กรอนามัยโลก รวมทั้งส่งเสริมการศึกษาสู่การมีงานทำ จัดปรับสภาพแวดล้อมและจัดสิ่งอำนวยความสะดวกที่อยู่อาศัยของเด็กพิการและโรงเรียน และอื่นๆ ตามความจำเป็นเฉพาะบุคคล
2.ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพเด็กพิการ สร้างแรงบันดาลใจสู่การพัฒนาตนเอง และมีส่วนร่วมในการพัฒนารุ่นน้องต่อไป
3.ส่งเสริมการรับรู้ และการมีส่วนร่วมของสังคมทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยร่วมเแ็นอาสาสมัครในกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาเด็กพิการของมูลนิธิฯ
6.วัตถุประสงค์
1.ส่งเสริมให้คนพิการเข้ามีส่วนในสังคมอย่างเต็มที่และสามารถอยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียมโดยการส่งเสริมให้มีสังคมที่ปราศจากอุปสรรค
2.เพิ่มโอกาสในการเข้ามีส่วนร่วมในสังคมให้กับคนพิการในเอเซีย โดยการส่งเสริมให้ได้มีเก้าอี้ล้อเข็นและสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ
3.ส่งเสริมกิจกรรมด้านกีฬาคนพิการเพื่อให้คนพิการได้มีโอกาสเล่นกีฬาและเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และสร้างมิตรภาพระหว่างคนพิการในเอเซีย
4.ส่งเสริมให้ผลิตเก้าอี้ล้อเข็นและนำเข้าเก้าอี้ล้อเข็นที่ใช้แล้วเพื่อให้คนพิการในเอเซียได้ใช้มากขึ้น
5.ส่งเสริมให้เด็กพิการได้มีเก้าอี้ล้อเข็นเป็นพาหนะในการเดินทางหรือเคลื่อนที่เพื่อการศึกษาหาความรู็ในสถานศึกษา
6.เผยแพร่ความรู้ และเปลี่ยนแปลงทัศนคติของสังคมให้มีความตระหนักในเรื่องสังคมที่ปราศจากอุปสรรคกีดขวางทั้งสิ่งแวดล้อมทั้งกายภาพและทัศนคติ
7.ดำเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์ หรือร่วมมือกับองกรค์การกุศลอื่นๆ เพื่อสาธารณประโยชน์
8.ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด
7. ค่านิยม
WAFCAT
W= Willingness เต็มใจ (บริการและปฏิบัติงานด้วยความเต็มใจ)
A= Achievement สำเร็จ (พัฒนาและช่วยเหลือเด็กพิการให้ประสบความสำเร็จตามศักยภาพของแต่ละบุคคล)
F= Friendship มิตรภาพ (เชื่อมมิตรภาพร่วมกันระหว่างเด็กพิการ ครอบครัว หน่วยงาน และสังคมทั้งในและต่างประเทศ)
C= Commitment พันธะสัญญา (พัฒนาเด็กพิการในโครงการของWAFCAT เต็มตามศักยภาพของแต่ละบุคคล และต่อเนื่อง)
A= Attitude ทัศนคติ (บุคลากรมีทัศนคติที่ดีและถูกต้องต่อคนพิการ)
T= Trust ความน่าเชื่อถือ (ทำงานอย่างมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมาย และทุกภาคส่วน)
8.กิจกรรมหลักของมูลนิธิฯ
1.บริการเก้าอี้เก้าอี้ล้อเข็น เก้าอี้ล้อเข็นเปรียบเสมือนขาของเด็กพิการ ดังนั้นเราจึงให้ความสำคัญมากที่สุดกับการเลือกเก้าอี้ล้อเข็นที่มีขนาดที่เหมาะสม และตรงกับลักษณะการใช้งานในชีวิตประจำวันของพวกเขา รวมถึงให้คำแนะนำเรื่องการจัดปรับท่าทางการนั่ง และวิธีการใช้งานที่ถูกต้องให้กับเด็กพิการและผู้ปกครอง เพื่อให้เกิดพัฒนาที่ดีขึ้นทั้งด้านสุขภาพและร่างกายของเด็กพิการ
2.จัดปรับสภาพแวดล้อมให้ปราศจากอุปสรรค บางครั้ง สภาพร่างกายที่บกพร่องของเด็กพิการแล้วเข้าไม่ถึงซึ่งบริการต่างๆ กลับไม่ใช่ปัญหา แต่มันคือสภาพแวดล้อมที่มีอุปสรรค การขาดสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ห้องน้ำ ทางลาดเชื่อม ราวจับ ลิฟท์ รวมถึงเจตคติของคนทั่วไปต่อคนพิการด้วย
3.ส่งเสริมการศึกษา เด็กทุกคนมีสิทธิได้รับการศึกษาเสมอเหมือนกัน แต่ด้วยข้อจำกัดที่แตกต่างกันไป โดยเฉพาะเด็กพิการที่บกพร่องทางร่างกายและการเคลื่อนไหว พวกเขาต้องการได้รับการส่งเสริมด้านการศึกษาที่แตกต่างกันไป ทั้งในเรื่องของทุนการศึกษา พาหนะรับ-ส่ง ผู้ดูแลเฉพาะ การจัดการเรียนการสอนที่มีความเหมาะสมหรือแบบเฉพาะบุคคล รวมถึงได้รับการเสริมพลังเฉกเช่นเดียวกันกับเด็กทั่วไป
4.ส่งเสริมอาสาสมัคร ไม่ว่ากิจการ หรืองานใดๆ การมีส่วนร่วมนับเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดเครื่องมือหนึ่ง และเราได้ให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครในการเข้ามาร่วมพลังกาย พลังใจ และพลังทุนสนับสนุนในกิจกรรมต่างๆ ของเราในรูปแบบของจิตอาสา เพื่อช่วยพัฒนาเด็กพิการร่วมกัน
5.สร้างความตระหนักต่อสังคม หากทุกคนในสังคมเกิดการตระหนักรู้ และยอมรับในศักยภาพของคนพิการ การร่วมกันสร้างสังคมแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างแท้จริง คงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
9. คณะกรรมการ
ประธานกรรมการ
1.ดร.สุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ ตำแหน่งเลขาธิการ มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ
รองประธานกรรมการ
2.นายมะซะโอะ ซึเอะมัทซึ ตำแหน่งที่ปรึกษาอาวุโส บริษัท เด็นโซ่ อินเตอร์เนชั่นแนล เอเชีย จำกัด
เลขาธิการและเหรัญญิก
3.นายมงคล เชื้อทอง ตำแหน่งผู้อำนวยการโครงการหน่วยงานธุรการบริษัทเด็นโซ่ (ประเทศไทย)
กรรมการมูลนิธิฯ
4.นายศุภชีพ ดิษเทศ ตำแหน่งนายกสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย
5.ดร.สมพร หวานเสร็จ ตำแหน่งอดีตผู้อำนวยการ ศูนย์การศึกษาพิเศษส่วนกลาง กรุงเทพ
6.พญ.ดารณี สุวพันธ์ ตำแหน่งรองผู้อำนวยการ โรงพยาบาลสิริเวช จังหวัดจันทบุรี
7.น.ส วิจิตา รชตะนันทิกุล ตำแหน่งอดีตที่ปรึกษาวิชาการพัฒนาสังคม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
8.นายวรยุทธ กิจกูล ตำแหน่งประธานบริษัทสยามนิสชิน จำกัด
9.นายชูเกียรติ สิงห์สูง ตำแหน่งนายกสมาคมกีฬาคนพิการแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปภัมภ์
10.ชินทาโร่ ทาเคอุจิ ตำแหน่งประธานบริษัทเด็นโซ่ประเทศไทย จำกัด
11.ดร.ธีรวัฒน์ ลิมปิบันเทิง ตำแหน่งประธานบริษัท สยาม เด็นโซ่ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด
12.นายกิตติพงษ์ หาดทวายกาญจน์ ตำแหน่งเหรัญญิก มูลนิธิคนพิการไทย
10. ที่ปรึกษามูลนิธิ 3 ท่าน
1.คุณสมลักษณ์ ลิ้ม ตำแหน่งกรรมการมูลนิธิเพื่อเด็กพิการ
2.คุณสาลินี คุวานันท์ ตำแหน่งกรรมการมูลนิธิคุวานันท์
3.คุณพินัย ศิรินคร ตำแหน่งที่ปรึกษาอาวุโส บริษัทแอร์ ซิสเต็มส์ ประเทศไทย จำกัด
11. เจ้าหน้าที่
1.นางสาวภัครดา สุวรรณนวล ตำแหน่งผู้จัดการมูลนิธิฯ
2.นางสาวรัชนีกร คูจินดา ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ
3.นายปิยะธวัช รักสุวชน ตำแหน่งเจ้าหน้าปรัสานงานโครงการ
4.นางสาวธิดารัตน์ แจ้งประเสริฐ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ธุรการและบัญชี
12. ที่ปรึกษาเฉพาะด้าน
1.คุณสาลิน เรืองศรี ตำแหน่งนักกายภาพบำบัดชำนาญการพิเศษ สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ
2.คุณชัยภัทร สมจิตรพรหม ตำแหน่งวิทยากรและนักจัดกิจกรรมอิสระ
3.คุณบูรณาศิลป์ หาญเจริญอัศวสุข ตำแหน่งอดีตผู้อำนวยการฝ่ายบริหารความปลอดภัย บริษัทเด็นโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด
4.คุณทวีทรัพย์ รอดจากภัย ตำแหน่งอดีตผู้จัดการทั่วไปบริษัทเทย์ก้า (ประเทศไทย) จำกัด
5.คุณสมลักษณ์ ลิ้ม ตำแหน่งนักวิชาการอิสระ
6.คุณสรสิช จันทร์ทอง ตำแหน่งฟรีแลนซ์
7.คุณมานพ กองอุ่น ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัทหนุมานไอที จำกัด
8.ดร.ธัญมน อรรจนพจนีย์ ตำแหน่งประธานบริษัท สำนักงานบัญชี
ที่อยู่มูลนิธิฯ
มูลนิธิศูนย์มิตรภาพมนุษย์ล้อเอเซีย (ประเทศไทย)
อาคารบริษัทเด็นโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด
เลขที่ 369 หมู่ 3 ถนนเทพารักษ์ ต.เทพารักษ์ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 10270
โทร : 02-384-2871ต่อ2441-2 ,02-394-0481ต่อ2441-2
อีเมลล์ : wafcatthai@gmail.com
เฟชบุ๊ค :www.facebook.com / wafcat wafcatthai
ขอเชิญทุกท่านเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมและพัฒนาเด็กพิการ และสร้างสรรค์สังคมแห่งการอยู่ร่วมกัน ผ่านกองทุนของเรา ดังต่อไปนี้
1.กองทุนวงล้อวิเศษ (Wonderful Wheel Fund) เพื่อจัดซื้อ-จัดหา และให้บริการเก้าอี้ล้อเข็นแก่เด็กพิการ
2.กองทุนเพื่อนมนุษย์ล้อ (Wheelchair Friends Fund) เพื่อสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของจิตอาสาในการช่วยเหลือ และพัฒนาเด็กพิการ เช่น การซ่อมแซมเก้าอี้ล้อเข็น การปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้เอื้อต่อการใช้ชีวิตของเด็กพิการ เป็นต้น
3.กองทุนส่งเสริมการศึกษา เพื่อส่งเสริมให้เด็กพิการได้มีโอกาสไปเรียนหนังสืออย่างมีคุณภาพ ได้รับการเสริมสร้างศักยภาพ และกำลังใจ มีเป้าหมายของชีวิต ตลอดจนได้ทำงานมีรายได้เลี้ยงชีพตนเอง อันนำไปสู่การดำรงชีวิตอิสระโดยแท้จริง
สามารถร่วมทำบุญบริจาคได้ที่ บัญชีเลขที่ 304-265-140-9 ธนาคารไทยพานิชย์ สาขา สำโรง ชื่อบัญชี มูลนิธิศูนย์มิตรภาพมนุษย์ล้อเอเซีย (ประเทศไทย) (โครงการเพื่อนมนุษย์ล้อ)
หรือแสกน QR Code (ระบบ E-Donation)
"ขอขอบคุณที่สนับสนุนกิจกรรมของมูลนิธิ WAFCAT"